แผนผังแสดงโครงสร้างการบริหารงาน และการแบ่งกลุ่มงานตามกรอบโครงสร้าง รพ.สต. พ.ศ.2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะเอิง

 รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) นาวาอากาศโท แพทย์หญิง ธัญญา เชฏฐากุล  แพทย์โรคต่อมไร้ท่อ

เบาหวานคืออะไร?

       เบาหวาน (Diabetes mellitus) คือ ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่น เบา หวานขึ้นตา เบาหวานลงไต หรือเบาหวานลงปลายประสาท หรือในบางครั้งผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

       ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนเกินความสามารถของไตในการดูดกลับ น้ำตาลส่วนที่สูงเกิน 180 มก./ดล. (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) นั้นจะล้นออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวานจึงเรียกว่า “เบาหวาน” โรคนี้เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 3,000 ปี โดยมีการสังเกตเห็นว่า ปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนี้จะมีมดขึ้นเนื่องจากมีรสหวานนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม...

 ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

 โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์

วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

 บทนำ

         โรคความดันโลหิตสูง หรือแพทย์บางท่านเรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากอีกโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ พบได้สูงถึง ประมาณ 25-30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ ในบางประเทศ พบโรคนี้ได้สูงถึง 50% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบโรคนี้ได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก

        โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท

อ่านเพิ่มเติม...

วัณโรค (Tuberculosis)

โดย  วีระเดช สุวรรณลักษณ์

วัณโรคคืออะไร?

วัณโรค (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB, acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำ ไส้ ในสมัยก่อนผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจน หายขาดได้ การติดเชื้อวัณโรคแตกต่างจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เพราะเชื้อวัณโรคสามารถ อยู่ในตัวผู้ป่วยโดยไม่มีอาการได้นานๆเรียกว่า วัณโรคระยะแฝง ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรคระยะ แฝงประมาณ 2,000 ล้านคน โดย10% ของวัณโรคระยะแฝงจะเกิดเป็นโรควัณโรคปอดภายใน 10 ปี

วัณโรคติดต่อได้อย่างไร?

 

อ่านเพิ่มเติม...

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)

โดย  ศิริรัตน์ เรืองจุ้ย

บทนำ

คนเรามีไต 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลังของช่องท้องระดับเอว ไตประกอบด้วยหน่วยกรองที่ทำหน้าที่กรองของเสียในเลือดทิ้งไปทางปัสสาวะข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย ปัสสาวะที่ออกจากไตจะไหลต่อไปยังท่อไต 2 ข้างและถูกเก็บรวบรวมไว้ในกระเพาะปัสสาวะ และเมื่อเรารู้สึกปวดปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะบีบตัวให้ปัสสาวะออกจากร่างกายโดยผ่านทางท่อปัสสาวะ

หน้าที่หลักของไต คือ การกำจัดของเสียซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารและการสลายของสารต่างๆในร่างกาย โดยในแต่ละวัน ไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและขับน้ำส่วนเกินออกจากเลือดที่ผ่านหน่วยกรองเพื่อขับทิ้งไปทางปัสสาวะ และดูดกลับสารที่ร่างกายต้องการใช้ประโยชน์กลับเข้าสู่กระแสเลือด ไตช่วยรักษาระดับของเกลือแร่และกรด-ด่างในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ไตยังสร้างสารและฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกาย ได้แก่

1.    อิริโธรโพอิติน (Erythropoietin) เป็นสารที่กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง การขาดสารนี้ทำให้เกิดภาวะซีด

2.    เรนนิน (Renin) เป็นสารที่ควบคุมปริมาตรน้ำในร่างกายและมีผลต่อระดับความดันโลหิต (ความดันเลือด)

3.    วิตามิน ดี ในรูปที่พร้อมออกฤทธิ์ ซึ่งช่วยการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตจากอาหารในลำไส้ ทำให้กระดูกแข็งแรง

ในการประเมินการทำงานของไต สามารถประเมินจากค่าอัตราการกรองของไต (Glomerular filtration rate;ซึ่งนิยมเรียกย่อว่า GFR/จีเอฟอาร์) ซึ่งค่าปกติอยู่ในช่วง 90-120 มิลลิลิตร (มล.) ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร (ตร.ม.) และจากปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ โดยเมื่อไตถูกทำลาย จะทำให้พบปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น

อ่านเพิ่มเติม...